จดหมายเปิดผนึก ถึง พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน
ตามที่ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ"ภูริทัตตะ อัครเถราจารย์" ขึ้นในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ขององค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน โดยอมรินทร์พริ้นติ้ง ซึ่งมูลนิธิสิริวัฒนภักดี เป็นผู้ออกทุนจำนวน 4 ล้านบาท จำนวนการจัดพิมพ์ 5,000 เล่ม และลิขสิทธิ์เป็นของวัดป่าบ้านตาด คำนำเขียนโดยพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน เนื้อหาประกอบด้วย ส่วนที่ยกมาจากหนังสือ "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน" และมีส่วนที่เสริมเข้ามาเช่น รูปภาพ ธรรมะ และประวัติศาสตร์สถานที่ บุคคล และส่วนอื่น ๆ นำมาจากหนังสือ เช่น หนังสือหยดน้ำบนใบบัว มุตโตทัย รายละเอียดปรากฎอยู่ท้ายเล่ม และทราบมาว่าจะมีการพิมพ์เพิ่มอีก และผู้เขียนได้ทำหนังสือ "บันทึกการเดินทางตามรอยธุดงค์หลวงปู่มั่นจอมทัพธรรม" มาพิมพ์ขายด้วย
หนังสือ "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ" นั้นได้กลั่นกรองและพิจารณาแล้วจากองค์หลวงตาฯ และได้พิมพ์แจกเป็นระยะ ๆ มาตลอด ตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา อันเป็นหนังสือที่บริสุทธิ์และทรงคุณค่ามหาศาล เนื่องมาจากเป็นหนังสือที่พระอรหันต์เขียนประวัติพระอรหันต์ ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ตรงขององค์พระหลวงตาฯ และสอบทานกับพระอรหันต์ และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยตนเอง หลวงตาฯ บอกอยู่เสมอว่า "ผู้ไม่รู้..แต่งไม่ได้ ผู้ไม่รู้..เขียนไม่ได้" หลวงตาฯ ได้ทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อที่จะเชิดชูพ่อแม่ครูจารย์มั่น อย่างที่สุด ถึงกับลงทุนไปเรียนพิมพ์ดีดเพื่อที่จะพิมพ์ต้นฉบับด้วยองค์ท่านเอง และไม่มีผลประโยชน์ใดแอบแฝง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว อยากถามท่านว่า หนังสือ "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ" นั้นไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะพิมพ์แจกในงาน 100 ปี ชาตกาลฯ หรืออย่างไร ท่านจึงได้อนุญาตให้มีการทำหนังสือดังกล่าวโดยปุถุชนคนหนา และมีการเสริมข้อมูลจากแหล่งที่มาหลากหลาย ตัวอย่างเช่น มีการเชิดชูครูบาอาจารย์บางองค์ ซึ่งเป็นพระที่องค์หลวงตาไม่ลงใจ เพราะสมัยอยู่กับหลวงปู่มั่น ข้ามหัวครูบาอาจารย์ และถูกไล่ออกจากวัด และต่อมามีการแอบอ้างว่าได้เคยสอนการภาวนาแก่หลวงตา และหลวงปู่เจี๊ยะ ตั้งแต่เป็นสามเณร และอ้างว่าหลวงปู่มั่นสั่งให้มาอยู่กรุงเทพฯ แม้กระทั่งหนังสือหยดน้ำบนใบบัว ก็เป็นหนังสือที่องค์หลวงตาท่านพูดว่า "เราไม่เกี่ยวข้อง"
ถ้าหลวงตาฯ ยังอยู่.. ท่านจะอนุญาตให้ทำหนังสืออย่างนี้หรือไม่?
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ตื่นเถิด...ลูกหมูทั้งหลาย
เราไปดูทุ่งกะมังแล้วก็มาบอกท่านทุย ท่านทุยเก่งเรื่องจับหมู จับไปจนเกือบหมดนะ เพราะฉะนั้นจึงบอกธรรมอินทร์ให้ไปติดต่อกับธรรมทุย เรื่องจับหมูนี้ไม่มีใครสู้ได้ แต่เรื่องจับกิเลสเหลวทั้งสอง เราก็บอกอย่างนี้นะ เรื่องจับหมูจับหมานี้จับดี แต่จับกิเลสนี้เหลวทั้งสองเลย...
จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=751&CatID=2
จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=751&CatID=2
เก่งกว่าศาสดาไปไหน?
ทุกครั้ง..ทำไมเริ่มขึ้น มันขวางแล้วเนี่ยเหอ (0:00:49)
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ฤาษีกินเหี้ย
ผู้ที่รู้มีอยู่ จะพูดอะไรน่ะ อายผู้ที่รู้บ้าง นาทีบรรลุธรรมก็ลอกของหลวงตาฯ ไม่รู้หรือว่าครูบาอาจารย์แต่ละองค์ที่ท่านได้มรรคได้ผล ท่านมีวิทยานิพนธ์ของท่านเองทั้งนั้น เพราะท่านประพฤติปฏิบัติ เพื่อสัจจะความจริงที่แลกมาด้วยชีวิต ไม่ใช่จะใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการลอกคำพูดครูบาอาจารย์..แค่สัมมาสมาธิเอาให้ได้ก่อนเถิด (มีการปล่อยไก่ในงานแม่เที่ยง.. มีใครจับไก่ได้บ้าง?)
กรณีศาลเตี้ยที่เขาใหญ่ ทำไมไปพูดที่ผาแดงอีกอย่างล่ะ หลักฐานก็มีอยู่ มันเป็นวาสนานิสัยที่ละไม่ได้ หรือมุสาวาทา กันแน่ ลูกศิษย์ก็ลองทบทวนดูซิว่าอาจารย์ของท่านมีสัมมาทิฏฐิหรือไม่
-------------------------------
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้งนั้น ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ มีตบะกล้า อาศัยปัจจันตคามตำบลหนึ่ง อยู่ ณ บรรณศาลาชายป่า พวกชาวบ้านช่วยกันบำรุงพระดาบสด้วยความเคารพ. พระโพธิสัตว์ก็ได้อยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ณ ที่สุดที่จงกรมของท่าน ก็แลเมื่ออยู่นั้น ได้ไปหาพระดาบสวันละ ๓ ครั้งทุกๆ วัน ฟังคำอันประกอบด้วยเหตุประกอบด้วยผลแล้ว ไหว้พระดาบสแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตน.
ต่อมา พระดาบสก็อำลาพวกชาวบ้านหลีกไป ก็แลเมื่อพระดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตรนั้นหลีกไปแล้ว มีดาบสโกงอื่นมาพำนักอยู่ในอาศรมบทนั้น พระโพธิสัตว์กำหนดว่า แม้ท่านผู้นี้ก็มีศีล จึงได้ไปสู่สำนักของเขาโดยนัยก่อนนั่นแล.
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเมฆตั้งขึ้นในสมัยใช่กาล ยังฝนให้ตกลงมาในฤดูแล้ง ฝูงแมลงเม่าพากันออกจากจอมปลวกทั้งหลาย ฝูงเหี้ยก็พากันออกเที่ยวหากินแมลงเม่าเหล่านั้น พวกชาวบ้านก็พากันออกจับเหี้ยที่กินแมลงเม่าได้เป็นอันมาก แล้วจัดทำเป็นเนื้อส้ม ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันอร่อย ถวายพระดาบส.
ดาบสฉันเนื้อส้มแล้วติดใจในรส จึงถามว่า เนื้อนี้อร่อยยิ่งนัก เนื้อนั้นเป็นเนื้อของสัตว์ประเภทไหน? ครั้นได้ยินเขาบอกว่าเนื้อเหี้ย ก็ดำริว่า เหี้ยตัวใหญ่มาในสำนักของเรา จักฆ่ามันกินเนื้อเสีย แล้วให้คนขนภาชนะสำหรับต้มแกงและวัตถุมีเนยใสและเกลือเป็นต้น วางไว้ข้างหนึ่ง ถือไม้ค้อนซ่อนไว้ด้วยผ้าห่ม คอยการมาของพระโพธิสัตว์ อยู่ที่ประตูบรรณศาลา นั่งวางท่าทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม.
ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักไปหาดาบสแล้วออกเดิน ขณะที่กำลังเข้าไปใกล้นั่นเอง ได้เห็นข้อผิดแผกแห่งอินทรีย์ของเขา จึงคิดว่า ดาบสนี้มิได้นั่งด้วยท่าทางที่เคยนั่งในวันอื่นๆ แม้จะมองดูเราในวันนี้เล่า ก็ชำเลืองเป็นที่เคลือบแฝง ต้องคอยจับตาดูให้ดี ดังนี้.
พระโพธิสัตว์จึงไปยืนใต้ทิศทางลมของดาบส ได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงคิดว่า วันนี้ ดาบสโกงนี้คงฉันเนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้มุ่งจะตีเราผู้เข้าไปหาด้วยไม้ค้อน แล้วเอาเนื้อไปต้มแกงกินเป็นแน่ ก็ไม่ยอมเข้าไปใกล้เขา ถอยกลับวิ่งไป.
ดาบสรู้ความที่พระโพธิสัตว์ไม่ยอมมา ก็คิดว่า เหี้ยตัวนี้คงจะรู้ตัวว่าเรามุ่งจะฆ่ามัน ด้วยเหตุนั้น จึงไม่เข้ามา แม้ถึงเมื่อมันจะไม่เข้ามา ก็ไม่พ้นมือไปได้ แล้วเอาไม้ค้อนออกขว้างไป ไม้ค้อนนั้นกระทบเพียงปลายหางของพระโพธิสัตว์เท่านั้น
พระโพธิสัตว์เข้าจอมปลวกไปโดยเร็ว โผล่ศีรษะออกมาทางช่องอื่น กล่าวว่า เหวยชฏิลเจ้าเล่ห์ เมื่อเราเข้าไปหาเจ้า ก็เข้าไปหาด้วยสำคัญว่าเป็นผู้มีศีล แต่เดี๋ยวนี้ความเจ้าเล่ห์ของเจ้า เรารู้เสียแล้ว มหาโจรอย่างเจ้า บวชไปทำไมกัน.
เมื่อจะติเตียนดาบส จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
"เหวยชฏิลปัญญาทราม เจ้ามุ่นชฎาทำไม นุ่งหนังเสือทำไม ข้างในของเจ้ารุงรัง เจ้ามัวขัดสีแต่ภายนอก" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเตหิ ชฏาหิ ทุมฺเมธ ความว่า เหวยชฏิล ปัญญาทราม ไร้ความรอบรู้ การมุ่นชฏานี้ อันผู้เว้นจากการเบียดเบียน จึงควรธำรงไว้ อธิบายว่า เจ้าปราศจากคุณ คือการเว้นจากความเบียดเบียนเสียแล้ว จะมุ่นชฎานั้นไว้ทำไมเล่า?
บทว่า กินฺเต อชินิสาฏิยา ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่เจ้าไม่มีสังวรคุณ อันคู่ควรกัน เจ้าจะนุ่งหนังเสือทำไมเล่า?
บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต คหนํ ความว่า ภายใน คือหัวใจของเจ้ารุงรัง หนาแน่นด้วยเครื่องรุงรัง คือราคะโทสะโมหะ.
บทว่า พาหิรมฺปริมชฺชสิ ความว่า เจ้านั้น เมื่อภายในยังรุงรัง ยังมัวขัดสีข้างนอกด้วยการอาบน้ำเป็นต้น และด้วยการถือเพศ เมื่อมัวแต่ขัดข้างนอก เจ้าก็เป็นเหมือนกระโหลกน้ำเต้าที่เต็มด้วยรัง เป็นเหมือนตุ่มเต็มด้วยยาพิษ เป็นเหมือนจอมปลวกที่เต็มด้วยอสรพิษ และเป็นเหมือนหม้อที่วิจิตรเต็มด้วยคูถ ซึ่งเกลี้ยงเกลาแต่ข้างนอกเท่านั้น เจ้าเป็นโจร จะอยู่ที่นี่ทำไม รีบหนีไปเสียโดยเร็วเถิด ถ้าเจ้าไม่หนีไป เราจักบอกชาวบ้านให้ทำการขับไล่ข่มขี่เจ้า.
พระโพธิสัตว์คุกคามดาบสเจ้าเล่ห์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าสู่จอมปลวก แม้ดาบสเจ้าเล่ห์ก็หลบไปจากที่นั้น.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงนี้
ดาบสผู้มีศีลองค์นั้นได้มาเป็น พระสารีบุตร
ส่วนโคธบัณฑิตได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
-------------------------------
เห็นพี่น้องทั้งหลายมากราบไหว้ครูบาอาจารย์ มากราบไหว้พระสงฆ์ท่านที่มีจำนวนมากและเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเราเป็นที่พอใจ ปลาบปลื้มใจกับบรรดาพี่น้องทั้งหลายเป็นอย่างมาก คนชั่วมีทั่วๆ ไป แต่ไม่แสลงใจเหมือนพระชั่ว ถ้าพระชั่วนี้แสลงใจมาก กระเทือนใจอย่างลึกทีเดียว ประชาชนชั่วเป็นอย่างหนึ่ง แต่ของดีกลับเป็นของชั่วนี้มันดูไม่ได้นะ ของดีต้องเป็นของดี ความสง่าราศีก็นับว่ากระจายออกไป
พระดียิ่งเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชน อย่างพระเจ้าพระสงฆ์ท่านอยู่ในป่าในเขาท่านอยู่ของท่านเงียบๆ ประชาชนไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง บางสถานที่ไม่ค่อยมีประชาชนเลย เพราะท่านไม่เสาะไม่แสวงหาประชาชนยิ่งกว่าการเสาะแสวงหาอรรถหาธรรม ประกอบความดีทั้งหลายด้วยกิริยาอันเป็นอรรถเป็นธรรมล้วนๆ ท่านชอบอยู่อย่างนั้น แต่ประชาชนก็ไปรุมท่าน
ถ้าผู้ที่ชอบที่สงัดๆ เขาก็ชอบผู้เช่นนั้นแหละ ผู้ที่ชอบพูด ไหนว่าอย่างไรโยม เวลานี้อาตมากำลังสร้างนั้น กำลังสร้างนี้เต็มบ้านเต็มเมือง เป็นพระกวนบ้านกวนเมือง พระที่จะกวนกิเลสซึ่งเป็นตัวพาให้กวนบ้านกวนเมืองนี้มันไม่สนใจ มันวิ่งตามกระแสของกิเลส ไปที่ไหนเลยกลายเป็นพระวุ่น พระกวนบ้านกวนเมืองไป เลยกลายเป็นศาสนากวนบ้านกวนเมือง ดูไม่ได้ ขัดต่อศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า
หลวงตามหาบัว
เทศน์อบรมฆราวาส
บ่ายวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
กรณีศาลเตี้ยที่เขาใหญ่ ทำไมไปพูดที่ผาแดงอีกอย่างล่ะ หลักฐานก็มีอยู่ มันเป็นวาสนานิสัยที่ละไม่ได้ หรือมุสาวาทา กันแน่ ลูกศิษย์ก็ลองทบทวนดูซิว่าอาจารย์ของท่านมีสัมมาทิฏฐิหรือไม่
-------------------------------
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้งนั้น ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ มีตบะกล้า อาศัยปัจจันตคามตำบลหนึ่ง อยู่ ณ บรรณศาลาชายป่า พวกชาวบ้านช่วยกันบำรุงพระดาบสด้วยความเคารพ. พระโพธิสัตว์ก็ได้อยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ณ ที่สุดที่จงกรมของท่าน ก็แลเมื่ออยู่นั้น ได้ไปหาพระดาบสวันละ ๓ ครั้งทุกๆ วัน ฟังคำอันประกอบด้วยเหตุประกอบด้วยผลแล้ว ไหว้พระดาบสแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตน.
ต่อมา พระดาบสก็อำลาพวกชาวบ้านหลีกไป ก็แลเมื่อพระดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตรนั้นหลีกไปแล้ว มีดาบสโกงอื่นมาพำนักอยู่ในอาศรมบทนั้น พระโพธิสัตว์กำหนดว่า แม้ท่านผู้นี้ก็มีศีล จึงได้ไปสู่สำนักของเขาโดยนัยก่อนนั่นแล.
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเมฆตั้งขึ้นในสมัยใช่กาล ยังฝนให้ตกลงมาในฤดูแล้ง ฝูงแมลงเม่าพากันออกจากจอมปลวกทั้งหลาย ฝูงเหี้ยก็พากันออกเที่ยวหากินแมลงเม่าเหล่านั้น พวกชาวบ้านก็พากันออกจับเหี้ยที่กินแมลงเม่าได้เป็นอันมาก แล้วจัดทำเป็นเนื้อส้ม ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันอร่อย ถวายพระดาบส.
ดาบสฉันเนื้อส้มแล้วติดใจในรส จึงถามว่า เนื้อนี้อร่อยยิ่งนัก เนื้อนั้นเป็นเนื้อของสัตว์ประเภทไหน? ครั้นได้ยินเขาบอกว่าเนื้อเหี้ย ก็ดำริว่า เหี้ยตัวใหญ่มาในสำนักของเรา จักฆ่ามันกินเนื้อเสีย แล้วให้คนขนภาชนะสำหรับต้มแกงและวัตถุมีเนยใสและเกลือเป็นต้น วางไว้ข้างหนึ่ง ถือไม้ค้อนซ่อนไว้ด้วยผ้าห่ม คอยการมาของพระโพธิสัตว์ อยู่ที่ประตูบรรณศาลา นั่งวางท่าทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม.
ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักไปหาดาบสแล้วออกเดิน ขณะที่กำลังเข้าไปใกล้นั่นเอง ได้เห็นข้อผิดแผกแห่งอินทรีย์ของเขา จึงคิดว่า ดาบสนี้มิได้นั่งด้วยท่าทางที่เคยนั่งในวันอื่นๆ แม้จะมองดูเราในวันนี้เล่า ก็ชำเลืองเป็นที่เคลือบแฝง ต้องคอยจับตาดูให้ดี ดังนี้.
พระโพธิสัตว์จึงไปยืนใต้ทิศทางลมของดาบส ได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงคิดว่า วันนี้ ดาบสโกงนี้คงฉันเนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้มุ่งจะตีเราผู้เข้าไปหาด้วยไม้ค้อน แล้วเอาเนื้อไปต้มแกงกินเป็นแน่ ก็ไม่ยอมเข้าไปใกล้เขา ถอยกลับวิ่งไป.
ดาบสรู้ความที่พระโพธิสัตว์ไม่ยอมมา ก็คิดว่า เหี้ยตัวนี้คงจะรู้ตัวว่าเรามุ่งจะฆ่ามัน ด้วยเหตุนั้น จึงไม่เข้ามา แม้ถึงเมื่อมันจะไม่เข้ามา ก็ไม่พ้นมือไปได้ แล้วเอาไม้ค้อนออกขว้างไป ไม้ค้อนนั้นกระทบเพียงปลายหางของพระโพธิสัตว์เท่านั้น
พระโพธิสัตว์เข้าจอมปลวกไปโดยเร็ว โผล่ศีรษะออกมาทางช่องอื่น กล่าวว่า เหวยชฏิลเจ้าเล่ห์ เมื่อเราเข้าไปหาเจ้า ก็เข้าไปหาด้วยสำคัญว่าเป็นผู้มีศีล แต่เดี๋ยวนี้ความเจ้าเล่ห์ของเจ้า เรารู้เสียแล้ว มหาโจรอย่างเจ้า บวชไปทำไมกัน.
เมื่อจะติเตียนดาบส จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
"เหวยชฏิลปัญญาทราม เจ้ามุ่นชฎาทำไม นุ่งหนังเสือทำไม ข้างในของเจ้ารุงรัง เจ้ามัวขัดสีแต่ภายนอก" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเตหิ ชฏาหิ ทุมฺเมธ ความว่า เหวยชฏิล ปัญญาทราม ไร้ความรอบรู้ การมุ่นชฏานี้ อันผู้เว้นจากการเบียดเบียน จึงควรธำรงไว้ อธิบายว่า เจ้าปราศจากคุณ คือการเว้นจากความเบียดเบียนเสียแล้ว จะมุ่นชฎานั้นไว้ทำไมเล่า?
บทว่า กินฺเต อชินิสาฏิยา ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่เจ้าไม่มีสังวรคุณ อันคู่ควรกัน เจ้าจะนุ่งหนังเสือทำไมเล่า?
บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต คหนํ ความว่า ภายใน คือหัวใจของเจ้ารุงรัง หนาแน่นด้วยเครื่องรุงรัง คือราคะโทสะโมหะ.
บทว่า พาหิรมฺปริมชฺชสิ ความว่า เจ้านั้น เมื่อภายในยังรุงรัง ยังมัวขัดสีข้างนอกด้วยการอาบน้ำเป็นต้น และด้วยการถือเพศ เมื่อมัวแต่ขัดข้างนอก เจ้าก็เป็นเหมือนกระโหลกน้ำเต้าที่เต็มด้วยรัง เป็นเหมือนตุ่มเต็มด้วยยาพิษ เป็นเหมือนจอมปลวกที่เต็มด้วยอสรพิษ และเป็นเหมือนหม้อที่วิจิตรเต็มด้วยคูถ ซึ่งเกลี้ยงเกลาแต่ข้างนอกเท่านั้น เจ้าเป็นโจร จะอยู่ที่นี่ทำไม รีบหนีไปเสียโดยเร็วเถิด ถ้าเจ้าไม่หนีไป เราจักบอกชาวบ้านให้ทำการขับไล่ข่มขี่เจ้า.
พระโพธิสัตว์คุกคามดาบสเจ้าเล่ห์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าสู่จอมปลวก แม้ดาบสเจ้าเล่ห์ก็หลบไปจากที่นั้น.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงนี้
ดาบสผู้มีศีลองค์นั้นได้มาเป็น พระสารีบุตร
ส่วนโคธบัณฑิตได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
-------------------------------
เห็นพี่น้องทั้งหลายมากราบไหว้ครูบาอาจารย์ มากราบไหว้พระสงฆ์ท่านที่มีจำนวนมากและเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเราเป็นที่พอใจ ปลาบปลื้มใจกับบรรดาพี่น้องทั้งหลายเป็นอย่างมาก คนชั่วมีทั่วๆ ไป แต่ไม่แสลงใจเหมือนพระชั่ว ถ้าพระชั่วนี้แสลงใจมาก กระเทือนใจอย่างลึกทีเดียว ประชาชนชั่วเป็นอย่างหนึ่ง แต่ของดีกลับเป็นของชั่วนี้มันดูไม่ได้นะ ของดีต้องเป็นของดี ความสง่าราศีก็นับว่ากระจายออกไป
พระดียิ่งเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชน อย่างพระเจ้าพระสงฆ์ท่านอยู่ในป่าในเขาท่านอยู่ของท่านเงียบๆ ประชาชนไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง บางสถานที่ไม่ค่อยมีประชาชนเลย เพราะท่านไม่เสาะไม่แสวงหาประชาชนยิ่งกว่าการเสาะแสวงหาอรรถหาธรรม ประกอบความดีทั้งหลายด้วยกิริยาอันเป็นอรรถเป็นธรรมล้วนๆ ท่านชอบอยู่อย่างนั้น แต่ประชาชนก็ไปรุมท่าน
ถ้าผู้ที่ชอบที่สงัดๆ เขาก็ชอบผู้เช่นนั้นแหละ ผู้ที่ชอบพูด ไหนว่าอย่างไรโยม เวลานี้อาตมากำลังสร้างนั้น กำลังสร้างนี้เต็มบ้านเต็มเมือง เป็นพระกวนบ้านกวนเมือง พระที่จะกวนกิเลสซึ่งเป็นตัวพาให้กวนบ้านกวนเมืองนี้มันไม่สนใจ มันวิ่งตามกระแสของกิเลส ไปที่ไหนเลยกลายเป็นพระวุ่น พระกวนบ้านกวนเมืองไป เลยกลายเป็นศาสนากวนบ้านกวนเมือง ดูไม่ได้ ขัดต่อศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า
หลวงตามหาบัว
เทศน์อบรมฆราวาส
บ่ายวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑